เมนู

4. กามชาดก



ว่าด้วยกามและโทษของกาม


[1637] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่
ปรารถนาของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนา
สิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้.

[1638] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่
ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่
ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็
ย่อมได้ประสบกามตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดด
แผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำ
ฉะนั้น.

[1639] ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคน
พาลมีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที
เหมือนขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น.

[1640] แม้จะให้ทรัพย์สมบัติ ข้าสาลี ข้าว-
เหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยัง
ไม่พอแก่คน ๆ เดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรม
สม่ำเสมอ.

[1641] พระราชาทรงปราบปรามชนะทั่วแผ่น-
ดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็น

ขอบเขต ทรงครอบครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระ-
ทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก.

[1642] เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้
ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วย
ปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็น
โทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.

[1643] บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วย
ปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่
เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหา
ย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.

[1644] ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มี
ความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญา
เปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกาม
ทั้งหลาย.

[1645] ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประ-
กอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่
ดี ๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้ว ย่อมมีความสุข
ฉันใดเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว
ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรา-
รถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.

[1646] คาถาทั้งหมด 8 คาถา ที่ท่านกล่าวแล้ว
ขอท่านจงรับเอาทรัพย์ 8 พันนี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้
เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ.

[1647] ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อย
ทรัพย์พันหรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถา
สุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม.

[1648] มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหา
อันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็น
คนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง.

จบกามชาดกที่ 4

อรรถกถากามชาดก


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามย-
มานสฺส
ดังนี้.
เรื่องมีว่า พราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง หักร้างป่าเพื่อต้องการทำ
เป็นไร่ พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ใน
พระนครสาวัตถี ทรงแวะลงจากทาง กระทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสว่า เธอทำ
อะไรเล่าพราหมณ์ ครั้นกราบทูลว่า ข้าแด่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์หักร้าง
ที่ไร่พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดีละพราหมณ์ กระทำการงานไปเถิด แล้วเสด็จเลยไป
พระองค์ได้เสด็จไปทำปฏิสันถารกับเขาบ่อย ๆ คือในเวลาที่เขาขนต้นไม้ที่ตัด
แล้วและชำระที่ไร่ ในเวลาก่อคัน ในเวลาหว่าน โดยอุบายอย่างนี้นั้นแล
วันรุ่งขึ้นพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นมงคลใน